ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ...นางสาวอนุษรา แก้วทำในรายวิชา นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา ผู้เข้าชมเว็บบล็อกสามารถดูรายละเลียดและเพิ่มเติมเนื้อหา ของตัวเองเพื่อการศึกษาได้

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 
การออกแบบการเรียนการสอน

ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
         การออกแบบการเรียนการสอนเกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบการ  ฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม  มีกระบวนการ มีขั้นตอนและสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่าง ๆ อันได้แก่  จิตวิทยาการศึกษา  การสื่อความหมาย  การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม
ความหมายของการออกแบบการสอน (Instructional Design)
     หมายถึง เป็นกระบวนการของมนุษย์ได้นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ทางด้านความรู้ ทักษะและประสบการณ์ด้านความสามารถของตนเองมาใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การออกแบบหรือการวางแผนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การออกแบบจึงเป็นกระบวนการที่มีเหตุผลและมีลำดับขั้น รู้แนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยและสร้างเสริมประสบการณ์ ได้นำระบบการเรียนการสอนไปใช้กับผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการสอน
     การออกแบบการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนโดยยึดถือหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการสอนเรามุ่งหวังที่จะสอนให้คนมีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ จนกระทั่งการเรียนรู้มีประสิทธิภาพดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการภายในแต่ละบุคคลต้องเป็นผู้สร้างด้วยตนเอง และสามารถทำได้ดียิ่งขึ้นหากได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากที่อื่น
องค์ประกอบนี้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้
   - ผู้เรียน รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิก มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเองและได้รับรู้เรื่องราวของคนอื่น นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
  -ผู้สอน ไม่เสียเวลาในการอธิบายหรือยกตัวอย่างเพียงแต่ใช้เวลาเล็กน้อยในการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน และยังช่วยให้ผู้สอนได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป
      ในกรณีที่ผู้เรียนไม่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สอนหรือมีน้อย  ผู้สอนอาจต้องจัดประสบการณ์ให้  ซึ่งทำได้ทั้งทางตรง เช่น การนำตัวอย่างของจริงมาให้ผู้เรียนได้สัมผัสเพื่อสังเกตความแตกต่าง และทางอ้อม เช่น การเล่าประสบการณ์ชีวิตจากเรื่องที่ไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนได้
 การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)
      ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ,  สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้          
     การจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์  ดังนั้นผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม  เลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน  และใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย  ทั้งนี้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน  และสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้กระบวนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1.  กำหนดจุดประสงค์และสาระสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
2.  วิเคราะห์จุดประสงค์ สื่อและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอน
3.  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์
4. ออกแบบปฏิสัมพันธ์ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเลือกใช้กระบวนการกลุ่มที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ
5.  เตรียมใบช่วยสอน สื่อ/อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
6.  ออกแบบการประเมินผลและเครื่องมือ
7.  จัดการเรียนรู้และบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
8. ปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
 การออกแบบปฏิสัมพันธ์
     จากผลการวิจัยกระบวนการเรียนรู้แบบเดิมที่เน้นครูเป็นศิษย์กลางพบว่า  มีผลต่อผู้เรียนดังนี้
1.  ผู้เรียนขาดประสิทธิภาพในการทำงานกลุ่มขาดทักษะในการวางแผนการอภิปราย
2. การเน้นครูเป็นศูนย์กลางครูใช้วิธีสอนแบบเดียวกัน กับผู้เรียนทั้งชั้นซึ่งมีความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป
3. ผู้เรียนส่วนใหญ่จะบรรลุจุดมุ่งหมายเฉพาะตน ก่อให้เกิดการแข่งขันเป็นรายบุคคล ขาดความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม ขาดความร่วมมือทำให้เป็นคนที่ไม่รู้จักการเสียสละและเห็นแก่ตัวในที่สุด
     โดยภาพรวมแล้วการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มจะช่วยปลูกฝังความใฝ่รู้และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้เรียนให้เหมาะสมกับแต่ละกิจกรมการเรียนรู้ เมื่อรวมกับการออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด จึงทำให้ผู้เรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เต็มตามศักยภาพของแต่ละคน
 ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้
     การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจึงเป็นภาระงานที่ต้องกระทำอย่างรอบคอบ ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
2.กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. จัดทำคำอธิบายรายวิชา
4.จัดทำสาระการเรียนรู้
5. กำหนดหน่วยการเรียนรู้
6. วางแผนการเรียนรู้
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
-ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
-ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
-ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
-ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
-ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint) 
 องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
      การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบซึ่ง เป็นโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้  ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามศักยภาพ  ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบต่าง ๆ พบว่ามีโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันคือ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสร้างความรู้ร่วมกัน การนำเสนอความรู้ และการประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่  กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับเป็นต้น
เทคนิควิธีการสอนแนวใหม่
    คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเองจัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ นำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ดังนั้นเพื่อให้เกิด ประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
1.วิธีสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leanning ) อยากให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกันในชั้นเรียน และยังเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ยอมรับซึ่งกันและกันนอกจากนี้ยังเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกด้วย
     ความมุ่งหมายของการเรียนแบบทำงาน รับผิดชอบ ร่วมกัน คือ การให้สมาชิกทุกคนใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานกลุ่ม โดยยังคงรักษา สัมพันธภาพที่ดีต่อสมาชิกกลุ่ม ในการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมนั้น จุดมุ่งหมายอยู่ที่การทำงานให้ สำเร็จเท่านั้น
    ขั้นตอนการสอนมี 5 ชั้น ดังนี้           
    1. แนะนำ ด้วยการบอกว่าชั้นเรียนแบ่งเป็นกี่กลุ่ม กลุ่มละกี่คนต้องรับผิดชอบที่จะเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่กลุ่มได้รับตามหัวข้อนั้น มีหน้าที่จะสอนกลุ่มอื่น ๆ ดัวย ทุกคนจะได้รับเกรดรายบุคคล และเป็นกลุ่ม
    2. แบ่งกลุ่มให้คละกัน แล้วให้กลุ่มตั้งชื่อกลุ่ม เขียนชื่อกลุ่ม และสมาชิกบนป้าย นิเทศ ผู้สอนแจ้งกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติระหว่างการประชุมกลุ่ม
    3. สร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้สอนแจกเอกสารหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งภายในบรรจุด้วย เนื้อหาถ้ามีกลุ่ม 6 กลุ่ม ผู้สอนต้องเตรียมเอกสาร 6 ชุดเมื่อทุกคนเข้าใจดีแล้ว ก็เตรียมตัววางแผนกการสอนเพื่อกลับไปสอนสมาชิกใน กลุ่มเดิมของตน
   4. ผู้เชี่ยวชาญสอนเพื่อนในกลุ่ม ทุกคนจะผลัดกันสอนเรื่องที่ไปศึกษามาและช่วยเพื่อนสมาชิกในการเรียน
   5. ประเมินผลและให้คะแนนแต่ละคน ผู้สอนทำการทดสอบเพื่อดูว่าต้องสอนเพิ่มเติมหรือไม่ให้เกรด และคิดคะแนนกลุ่ม
2.วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง วิธีสอนที่ใช้ในการอภิปรายโดยทันทีกลุ่มผู้เรียนเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาสั้นโดย ในขณะนั้นจะไม่มีการตัดสินว่า คำตอบหรือทางเลือกใดดีหรือไม่อย่างไร
    ขั้นตอนในการระดมสมอง
   1. กำหนดปัญหา
   2.แบ่งกลุ่มผู้เรียน และอาจเลือกประธานหรือเลขา เพื่อช่วยในการอภิปรายและ บันทึกผล
   3.สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนด ให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด โดยปัญหาของแต่ละกลุ่มอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
   4. คัดเลือกเฉพาะทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ หรือเหมาะสมที่สุด
   5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน ( ข้อ 4 และ 5 อาจสลับกันได้ )
   6. อภิปรายและสรุปผล
3.วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice ) วิธีสอนที่ให้ประสบการณ์ตรงกับ ผู้เรียน โดยการให้ลงมือปฏิบัติจริงการทดลองหรือ การบรรยาย เป็นการฝึกฝนความรู้ความเข้าใจจากทฤษฎีที่เรียนมาโดยเน้นการฝึกทักษะ
     ขั้นตอนการสอน
    1. ขั้นเตรียม ผู้สอนกำหนดจุดมุ่งหมายของการฝึกปฏิบัติ รายละเอียดของขั้นตอน การทำงาน เตรียมสื่อต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือใบงานหรือคู่มือการปฏิบัติงาน
    2. ขั้นดำเนินการ ผู้สอนให้ความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ มอบหมาย งานที่ปฏิบัติเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล กำหนดหัวข้อการรายงาน หรือการบันทึกผลการปฏิบัติงานของ ผู้เรียน
    3. ขั้นสรุป ผู้สอนและผู้เรียน ช่วยกันสรุปกิจกรรมการปฏิบัติงาน
    4. ขั้นประเมินผล สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เช่น ความสนใจ ความร่วมมือการใช้และการเก็บรักษาเครื่องมือ และการตรวจผลงาน เช่น คุณภาพของงาน ความริเริ่ม ความประณีตสวยงาม
        ข้อควรคำนึง ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือจำนวนมาก และมีคุณภาพ
4.วิธีสอนโดยใช้เกมเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ อย่าง สนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง

   ขั้นตอนสำคัญของการสอน
   1. ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
   2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
   3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการเล่นหรือพฤติกรรม การเล่นของผู้เรียน
   เกมที่นำมาใช้ในการสอนส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่เรียกว่า เกมการศึกษา &rdqu"
ในการดำเนินภารกิจการสอนครูจะต้องมีการวางแผน เตรียมเนื้อหาบทเรียนและวิธีการสอนการจัดระบบการเรียนการสอนคือกระบวนการที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สอนว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการการเรียนการสอนจึงมีการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  เป้าหมายหลักของการจัดระบบการเรียนการสอนมี 2 ประการคือ
   -เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยใช้วิธีการต่างๆ ในการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
  -เพื่อออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินกระบวนการทั้งหมดของระบบการสอนนั้น
      การออกแบบการเรียนการสอนไม่ใช่การสร้างระบบใหม่   กิจกรรมการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) นั้นไม่ใช่กิจกรรมการออกแบบและสร้างระบบการสอนขึ้นใหม่ แต่เป็นกระบวนการนำรูปแบบที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน โดยผู้สร้างไว้ให้นั้นเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการดำเนินงานเท่านั้น รายละเอียดต่างๆ ภายในขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพปัญหา จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน และเงื่อนไขต่าง ๆ
บทสรุปของการออกแบบการเรียนการสอน
    การออกแบบการสอนเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา และการออกแบบได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังนั้นในการออกแบบการสอนนี้จึงเป็นการฝึกให้นักเรียนเข้าใจถึงกระบวนการในการออกแบบการสอน สามารถบอกแหล่งที่มีของปัญหาการวิจัยได้และให้ผู้เรียนออกแบบการสอนโดยใช้ แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอน มาออกแบบการสอนโดยใช้กระบวนการเชิงระบบในการออกแบบการสอน เช่น วิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์กิจกรรม ฯลฯ และให้เขียนเป็นแผนการสอนตามลำดับขั้น จากนั้นให้ตีแผนการสอนมาเป็นกิจกรรมการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่าขั้นการนำเข้าสู่บทเรียนทำอย่างไร ขั้นการสอนดำเนินการอย่างไร ขั้นสรุปทำอย่างไร ขั้นการประเมินผลทำอย่างไรเป็นต้น